***** นึกถึงโมเดล นึกถึงพญานาค *****

PayanakModel.Com
       
    


เข้าสู่รายการสั่งซื้อ
 
00-ระดับทักษะฝีมือ Skill Level
000 สินค้าลดราคา Discounted Items
01-โมเดลสำเร็จรูป Finished Model
02-สี,กาวและเคมีภัณฑ์ Paints,Chemicals & Cements
03-อุปกรณ์ Tools
04-ปากกาพ่นสีหรือแอร์บรัชและปั๊มลม Airbrush&Air Compressor
05-VCD/DVD/หนังสือ
06-โมเดลราคาประหยัด Save Price Model
07-โมเดลตัวไทย Thailand
08-โมเดลเครื่องบินรบ Warplane
     >>สมัยปัจจุบัน After WW2
     >>สมัยสงครามโลก WW1&2
         +1/144
         +1/24
         +1/32
         +1/48
         +1/72
09-โมเดลเครื่องบินโดยสาร Air Liner
10-โมเดลเฮลิคอปเตอร์ Helicopter
11-โมเดลรถถัง Tank
12-รถเกราะ,ยานยนต์ทหาร Military Vehicle
13-โมเดลปืนใหญ่ & ฐานยิงจรวด Artillery& Rocket Luncher
14-โมเดลทหารหรือนักรบโบราณหรือฟิกเกอร์ (Figure)
15-ฉากสงคราม(ไดโอรามา)และอุปกรณ์ประกอบฉาก Diorama
16-โมเดลเรือรบ War Ship
17- โมเดลเรือใบ , เรือโบราณ Sailing Vessels
18-โมเดลเรือโดยสาร , เรือพาณิชย์ Cargo & Passenger Ship
19-โมเดลรถยนต์และรถไฟ Car & Train
20-โมเดลมอเตอร์ไซด์ Motorcycle
21-โมเดลเพื่อการศึกษา Model for Study
22-โมเดลยานอวกาศ Space ship
23- โมเดลไข่ Egg Model
24-มาครอส Macross
25-หุ่นยนต์ Robot
26-แนะนำสี
27-รูปลอกน้ำ Decal
28-วิทยุบังคับ RC
32-สินค้าฝากขาย
 

ตรวจสอบสถานะ EMS และไปรษณีย์ลงทะเบียน


 

 
หน้าแรก : 08-โมเดลเครื่องบินรบ Warplane : >>สมัยสงครามโลก WW1&2 : +1/24 :

เครื่องบินขับไล่ซี่โร่ของญีปุ่น A6M2b  ขนาด 1/24 ของ Trumpeter caix

เครื่องบินขับไล่ซี่โร่ของญีปุ่น A6M2b ขนาด 1/24 ของ Trumpeter caix

(35 เสียง)

ใส่รถเข็น
ราคา: 3390.00 บาท
รหัสสินค้า: TP02405

รายละเอียดสินค้า :


ค่าหีบห่อและนำส่งพัสดุ 80 บาท หรือ EMS 160 บาท

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.super-hobby.com/products/Mitsubishi-A6M2b-Model-21-Zero-Fighter.html

กำเนิดซีโร่ไฟเตอร์

ในฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ.1937) ญี่ปุ่นได้เริ่มรุกรานจีนและได้ส่งเครื่องบินแบบใหม่ๆ จำนวนมากเข้าสู่แนวหน้าโดยเครื่องบินเหล่านี้ญี่ปุ่นได้ริเริ่มนำเอาแนวคิดและเทคนิคใหม่ๆ มาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องบินขับไล่ ญี่ปุ่นได้ยกเลิกการใช้งานเครื่องบินปีก 2 ชั้น ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องแบบที่ใช้กันทั่วโลกในสมัยนั้นและได้รับเอาเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ ไทพ์ 96 ( 96 คันเซน) เข้ามาใช้งาน โดยเครื่องแบบนี้ญี่ปุ่นได้นำเอาแนวคิดและเทคนิคใหม่ๆของมาเป็นพื้นฐานในการออกแบบในหลายๆ ส่วน เช่น ลำตัวทำด้วยโลหะทั้งหมด , เป็นเครื่องแบบโมโนเพลนปีกต่ำ และยึดชิ้นส่วนต่างๆ อยู่ภายในตัวเครื่องรวมทั้งออกแบบให้มีฝาครอบเครื่องยนต์เพื่อลดแรงต้านของอากาศ เครื่องบินแบบ 96 คันเซน ประสบความสำเร็จในการขับเคี่ยวกับเครื่องบินขับไล่แบบ I-15 และ I-16และเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ SB-2 ซึ่งทั้งหมดผลิตในรัสเซียเช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่แบบกลาดิเอเตอร์ซึ่งผลิตในอังกฤษ ในการปรากฏตัวนั้นไทพ์ 96 คันเซนเป็นเครื่องบินขับไล่ที่มีความเร็วสูงกว่า 450 ก.ม./ช.ม.และมีความคล่องแคล่วเหนือเครื่องบินขับไล่ทั่วไปของญี่ปุ่นและของชาติอื่นๆ ทั่วโลกในเวลานั้นยังคงมีความเร็วอยู่ที่ 350 ก.ม./ช.ม.ด้วยเหตุนี้ไทพ์ 96 จึงได้รับการยกย่องทั้งในญี่ปุ่นและนานาชาติ สิ่งนี้ยังเป็นการล้มล้างความคิดของชาติตะวันตกที่เคยดูถูกอุตสาหกรรมการบินญี่ปุ่นอย่างสิ้นเชิง หลังการปรากฏตัวของเครื่องบินไทพ์ 96 คันเซนก็ทำให้อุตสาหกรรมการบินสมัยใหม่ของญีปุ่นได้พัฒนารุดหน้าอย่างรวดเร็วและได้เริ่มต้นออกแบบเครื่องบินแบบต่างๆ มากมาย สงครามในจีนได้ทวีความรุนแรงและยาวนานเป็นปี กองกำลังของจีนได้ย้ายจากเมืองหลวงคือนานกิงไปที่ชุงกิงลึกเข้าไปในแผ่นดินจีนเพื่อหลีกเลี่ยงการโจมตีของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจึงต้องติดตามลึกเข้าไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของกองบินนาวีญี่ปุ่นนั้นไม่สามารถที่จะคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิดไปได้ไกลถึงฐานของศัตรูที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินได้เพราเครื่องบินไทพ์ 96 คันไซ มีระยะปฏิบัติการจำกัดจึงเป็นการบีบบังคับให้เครื่องบินทิ้งระเบิดต้องปฏิบัติการโดยไม่มีเครื่องบินคุ้มกัน และเครื่องบินทิ้งระเบิดญี่ปุ่นก็มักจะถูกขัดขวางจากเครื่องบินขับไล่จีนอยู่เสมอ จึงง่ายมากที่จะเกิดการสูญเสียอย่างมากมาย การรบในจีนได้สอนให้กองทัพเรือญี่ปุ่นรู้ว่าสงครามทางอากาศในอนาคตจะเป็นเช่นไรและจะเกิดความสูญเสียของเครื่องบินทิ้งระเบิดมากแค่ไหนหากไม่สามารถครองน่านฟ้าได้ก่อนหน้ากำลังทางอากาศของประเทศอื่นๆจะได้รู้จักในเวลานั้น กองทัพเรือญี่ปุ่นได้เรียนรู้ว่าเครื่องบินขับไล่นั้นไม่เพียงแต่จะใช้ในการขัดขวางและป้องกันน่านฟ้ารอบๆ ฐานของตนเองอย่างธรรมดาแล้ว แต่ยังสามารถใช้บินคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่องบินอื่นๆ จนไปไกลถึงเป้าหมาย และยังใช้ในการขับเคี่ยวกับเครื่องบินขับไล่ข้าศึกและครองอากาศเหนือดินแดนข้าศึกได้อีกด้วย ซึ่งได้ประจักษ์ถึงความสามารถที่แท้จริงของเครื่องบินขับไล่ ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2480 (ค.ศ.1937) กองบินนาวีได้เริ่มวางแผนออกแบบเครื่องบินขับไล่รุ่นทดลองแบบ 12 ชิ (ซึ่งต่อมาเรียกว่า ซีโร่เซน) โดยมีข้อกำนดว่าเครื่องบินแบบใหม่จะต้องดีเยี่ยมกว่าแบบไทพ์ 96 คันเซน โดยคาดว่าต้องมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 500 ก.ม./ช.ม. ความเร็วต้องดีเหนือกว่าแบบ 96 คันไซ ติดอาวุธที่หนักกว่า ประกอบด้วย ปืนใหญ่อากาศ 20 ม.ม. 2 กระบอก ความคล่องแคล่วต้องไม่ด้อยกว่าแบบ 96 คันเซนและรัศมีทำการไกล ตอบสนองการบินได้นาน 6-8 ช.ม.ที่ความเร็วมัธยัทธ์ ซึ่งได้มาจากประสบการณ์การรบทางอากาศในจีน กองบินนาวีได้ส่งข้อกำหนดนี้ไปให้กับบริษัทนากาจิมาแอร์คราฟและมิตซูบิชิแอร์คราฟเพื่อให้ทำการแข่งขันกัน เงื่อนไขข้อกำหนดสำหรับเครื่องบินขับไล่รุ่นทดลองแบบ 12 ชินี้ดูเป็นไปได้ยากและเกินระดับขีดความสามารถทั่วไปของระดับความสามารถของวงการบินทั่วโลกในยุคนั้นมาก ไม่ช้าทางนากาจิมาก็ขอถอนตัวตัวทิ้งให้ทางมิตซูบิชิทำการทดลองต่อไปแต่เพียงลำพัง หัวหน้าทีมออกแบบของมิตซูบิชิ จิโร่ โฮริโคชิ ซึ่งเคยมีผลงานการออกแบบเครื่องบินระดับมาสเตอร์พีซมาแล้วคือ 96 คันเซน จึงเตรียมการออกแบบ โดยสำหรับการเพิ่มระยะปฏิบัติการและความเร็วปกตินั้นจำเป็นต้องใช้เครื่องยนต์ที่มีกำลังม้ามากขึ้นและมีความจุเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นด้วยและแน่นอนว่าลำตัวก็ต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งโดยพื้นฐานการออกแบบแล้วเครื่องบินแบบ 12 ชินี้จะต้องมีน้ำหนักเป็น 2 เท่าของแบบ 96 คันเซน แต่นักบินได้ให้น้ำหนักความสำคัญไปที่ความคล่องตัวมากที่สุดจึงเรียกร้องเครื่องบินว่าเครื่องบินใหม่ควรมีขนาดเล็กกว่า ในทางตรงกันข้ามบางคนก็แย้งว่าความคล่องแคล่วสามารถเพิ่มได้จากการฝึกและทักษะแต่ควรเพิ่มในส่วนของความเร็วและระยะปฏิบัติการเป็นสำคัญซึ่งไม่ทำให้ดีขึ้นได้ด้วยการฝึกหรือทักษะแต่ก็ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนและทางมิตซูบิชิก็ยังคงแก้ปัญหาต่อไป ฮิโรโคชิและทีมงานเชื่อว่าพวกเขาสามารถลดน้ำหนักลงได้โดยการใช้อลูมิเนียมผสมพิเศษแบบ Extra Super-Duralumin ของบริษัทซูมิโมโต้ ในการทำลำตัวทั่วไปแต่ในส่วนในจุดที่รับแรงเค้นมากๆ ก็ใช้ Duralumin ธรรมดาเพื่อให้ลำตัวเบาขึ้น พวกเขาได้เสนอแนวคิดนี้กับกองบินนาวีและได้รับการอนุมัติให้ใช้งานได้ ทีมงานได้ดำเนินงานสร้างต้นแบบและได้บินครั้งแรกในวันที่ 1 เมษายน ปีพ.ศ.2482(ค.ศ.1939)การทดลองและทดสอบได้ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในที่สุดเครื่องยนต์ก็ถูกเปลี่ยนจากมิตซูบิช ซุยไซ มาใช้นากาจิมา ซาคาะเอะ ซึ่งเป็นของคู่แข่งแม้ทางมิตซูบิชิจะไม่เต็มใจ แต่ทางกองทัพเรือได้กดดันให้ใช้ ส่วนใบพัด 3 กลีบคงที่ถูกนำมาใช้แทนแบบ 2 กลีบเดิม แต่การร้องขอจากแนวหน้าเนื่องจากความสูญเสียในสนามรบจากการขาดเครื่องบินคุ้มกันฝูงบินทิ้งระเบิดมีมากจนไม่อาจรับได้ เครื่องบินแบบ 12 ชิ คันเซนจำนวน 15 ลำ จึงถูกส่งแผ่นดินใหญ่จีนภายใต้การนำของผู้กองโยโกะยาม่าและชินโดในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2483(ค.ศ.1940)ก่อนที่เครื่องบินขับไล่แบบใหม่จะได้รับการยอมรับจากทางราชการให้ทำการผลิต แต่ในที่สุดก็ได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า เครื่องบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน Modell 11 Type 0 คำว่า 0 หมายถึง ปีที่ 2600 แห่งการสถาปนาจักรวรรดิญี่ปุ่นและทางราชการก็ได้ยอมรับเข้าสู่สายการผลิต (คำว่า 0 อ่านภาษาอังกฤษว่า ซีโร่ แต่ในภาษาญี่ปุ่นเรียก ไรเซน เมื่อนำมารวมกันเรียกว่า ซีโร่เซน) เครื่องซีโร่เซนที่ถูกส่งไปแผ่นดินจีนได้ร่วมกับกองบิที่ 12 ทำหน้าที่คุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิดลึกเข้าไปในแผ่นดินจีนซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับเครื่อง 96 คันเซน พวกเขาได้ยืดระยะออกไปมากกว่า 1,300 ก.ม. พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิดได้อย่างน่าพึงพอใจ ในวันที่ 13 กันยายน เครื่องซีโร่เซน จำนวน 13 ลำได้ทำการรบกับเครื่องบินขับไล่ของจีนแบบ I-15 และ I-16 จำนวน 25 ลำเหนือชุงกิงและสามารถทำลายเครื่องบินข้าศึกลงได้ทั้งหมดโดยไม่มีการสูญเสียเลย การรบครั้งนี้เป็นชัยชนะครั้งแรกของซีโร่เซ็น และการปรากฏตัวของมันทำให้ญี่ปุ่นสามารถควบคุมน่านฟ้าเหนือแผ่นจีนได้โดยสมบูรณ์

เปิดฉากสงครามแปซิฟิค

ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484(ค.ศ.1941) เครื่องบินทิ้งระเบิดและตอร์ปิโดประจำเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ ไทพ์ 97 และเครื่องบินดำทิ้งระเบิดประจำเรือบรรทุกเครื่องแบบ ไทพ์ 99 ได้บินขึ้นจากเรืออะคากิ,คากะ,โซริว,ฮิริว,ซุยคากุและโชคากุมุ่งสู่น่านฟ้าของฮาวายภายใต้การคุ้มกันของเครื่องบินขับไล่แบบซีโร่เซน ขณะที่ซีโร่เซนควบคุมน่านฟ้าและหน่วยโจมตีก็ถล่มกองเรือภาคพื้นแปซิฟิคของสหรัฐในเพิลว์ฮาร์เบอร์และฐานบินบนฮาวาย ความสำเร็จในการโจมตีอย่างกะทันหันทำให้ทั่วโลกรับรู้ในรหัส โทรา โทรา โทร่า และได้จุดระเบิดสงครามภาคพื้นแปซิฟิคขึ้น ญี่ปุ่นได้ทำการรุกไปทางเหนือจนสุดที่หมู่เกาะอลูเชี่ยนและไปถึงมหาสมุทรอินเดีย เครื่องซีโร่เซนได้เป็นหัวหอกทุกๆ ที่ ญี่ปุ่นได้รุกแผ่ขยายไปในทั้ง 2 มหาสมุทรอย่างดุเดือดและเสรี กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งมีสหรัฐและอังกฤษไม่ได้รับแจ้งมาก่อนถึงการมีอยู่ของเครื่องบินซีโร่เซ็นและรู้สึกประหลาดใจมากในขีดความสามารถที่สูงและคำว่า “ Terrible Zero Fighter” ก็ได้สร้างความหวาดกลัวให้กับนักบินฝ่ายสัมพันธมิตร ในการรบที่ฟิลิปปินส์ซีโร่เซนได้บินจากฐานทาคาโอะบนเกาะไหหลำพร้อมกับเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบไทพ์ 1 เบ็ตตี้เป็นระยะทาง 1,600 ก.ม.เหนือมหาสมุทรและได้ทำการรบกับเครื่องบินอังกฤษแบบบัฟฟาโลและเฮอริเคนเช่นเดียวกับ P-36s และP-40s ของอเมริกาซึ่งได้พยายามขัดขวางเครื่องบินญี่ปุ่น ผลการต่อสู้ชัยชนะได้ตกเป็นของซีโร่เซนอย่างชัดเจน ขณะที่การสูญเสียมีเพียง 2-3 ลำ เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรจำนวนกว่า 300 ลำ รวมทั้ง B-17 ซึ่งเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดติดปืนที่เรียกว่าป้อมบินที่ทางอเมริกันภูมิใจได้ถูกทำลายจนหมดภายใน 2-3 วันในฟิลิปปินส์ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตอบโต้ซีโร่เซนด้วยเครื่องบินแบบใหม่ F4F ไวด์แคทของกองทัพเรืออเมริกันและสปิตไฟร์ของอังกฤษ สำหรับ F4F นั้นเป็นเครื่องบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบินอย่างเดียวกับซีโร่และมีขนาดเครื่องยนต์เกือบจะเท่ากันแต่มีความเร็วในการดำมากกว่าแต่ด้อยกว่าซีโร่เซนในหลายๆจุด และในการต่อสู้ก็มีความคล่องตัวน้อยกว่าซีโร่เซน ในการโจมตีพอร์ตดาร์วินของออสเตรเลียจากฐานบินราบวลซีโร่เซนได้แสดงความเหนือกว่าในเลี้ยวและเหนือชั้นกว่าเครื่องสปิตไฟร์ของอังกฤษในการรบระยะประชิด Dogfight เครื่องสปิตไฟร์ซึ่งเคยปราบ ME-109 ของเยอรมันมาแล้วใน Battle of Britain ด้วยความสามารถในการเลี้ยวที่ดีกว่าอันภาคภูมิใจแต่ต้องมาพ่ายแพ้ต่อซีโร่เซน ดังนั้นเครื่องบินญี่ปุ่นนี้จึงได้รับฉายาว่าซีโร่เซนอมตะ “Invincible Zero-Sen” เครื่องซีโร่เซนรุ่นทีได้รับชัยชนะอย่างมากมายในช่วงต้นของสงครามแปซิฟิคเป็นรุ่น Model 21 ซึ่งได้รับการปรับปรุงจากรุ่นก่อนคือ Model 11 ซึ่งเคยปฏิบัติการเหนือแผ่นดินจีน ปีกของรุ่น Model 21 ได้รับการออกแบบให้พับได้ 50 ซ.ม.เพื่อประโยชน์ในการขึ้นลงด้วยลิพท์ของเรือบรรทุกเครื่องบินและลดพื้นที่จัดเก็บ จำนวนของรุ่น Model 11 และ Model 21 รวมกันก่อนเกิดสงครามแปซิฟิคมีประมาณ 400 ลำ

ในช่วงกลางของสงครามฝ่ายอเมริกันได้ต่อต้านซีโร่เซนด้วยเครื่องบินแบบใหม่จำนวนมหาศาลเช่น เครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ F6F เฮลล์แคทซึ่งติดตั้งเครื่องยนต์ขนาดใหญ่กว่าคือ 2,000 แรงม้า และเครื่องบินขับไล่อื่นๆ เช่น P-38, P-47 และ P-51 ซึ่งล้วนแต่ทรงพลังด้วยกันทั้งนั้น ขณะที่ทางซีโร่เซนก็มีการปรับปรุงบ้างเช่นกัน แต่ซีโร่เซนก็เกือบจะเป็นเครื่องบินแบบเดียวของญีปุ่นที่ทำการรบตลอดสงคราม การผลิตยังคงดำเนินอยู่จนสิ้นสุดสงครามโดยมีจำนวนประมาณ 10,425 ลำซึ่งเป็นสถิติที่มากที่สุดของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นตลอดมา กว่าครึ่งคือประมาณ 6,545 ถูกผลิตโดยบริษัทนากาจิมาระหว่างเดือนมกราคม ปีพ.ศ.2484(ค.ศ.1941) จนสิ้นสุดสงครามนอกจากนี้ทางนากาจิม่ายังผลิตซีโร่เซนรุ่นติดทุ่นอีก 327 ลำ ได้รับรหัสว่าเครื่องบินขับไล่ทะเลแบบไทพ์ 2 โดยถ้าเป็นรุ่นที่มิตซูบิชิผลิตจะมีสีภายในห้องนักบินเป็นสีเขียวใบตอง แต่ถ้าเป็นรุ่นที่นากาจิมาผลิตจะเป็นสีน้ำเงินเมทาลิค

ซีโร่เซนได้ถูกบันทึกในระดับโลกไว้หลายรายการดังนี้

1.ระยะปฏิบัติการไกลมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้เครื่องยนต์ที่กินเชื้อเพลิงต่ำและเชื่อถือได้อย่างนากาจิม่า ซาคาเอะ

2.มีความคล่องแคล่วดีและวงเลี้ยวดี ซึ่งเป็นผลจากการลดน้ำหนักได้อย่างอัศจรรย์ รวมทั้งความเร็วและอัตราเร่งที่สมดุล ทำให้ทำการรบระยะประชิดหรือดอกไฟท์เยี่ยมมาก

3.ปืนใหญ่อากาศขนาด 20 ม.ม.ที่ทรงพลัง

ซีโร่เซนเป็นเครื่องบินที่มีความสมดุลในทุกหัวข้อและมีขีดความสามารถอยู่ในระดับโลก ดังนั้นเมื่อได้นักบินซีโร่เซนที่เคยผ่านประสบการณ์ในจีนและมีทักษะมากๆ จึงถูกเรียกว่าซีโร่เซนอมตะ “Invincible Zero-Sen” Model 21 นี้ถูกผลิตโดยมิตซูบิชิทั้งหมด 740 ลำ และเมื่อรวมกับนากาจิมา มีจำนวนผลิตทั้งหมดประมาณ 3,600 ลำ

ดีเยี่ยม
ดี
ปานกลาง
พอใช้
ยอดแย่


Copyright © PayanakModel.Com. All rights reserved 9-12-59.