หน้า 1 จาก 2 ซู-9 และ ซู-11 (Su-9,Su-11) เป็นเครื่องบินสกัดกั้นในทุกกาลอากาศที่นั่งเดี่ยวของสหภาพโซเวียต มีรหัสชื่อตามรายงานข่าวของนาโต้ว่า “ฟิสพ๊อท” ( Fishpot) และเมดเด็น (Maiden) นอกจากนี้ยังมีรุ่นที่แตกแยกออกไปอีกหลายรุ่น ดังมีสาระและความเป็นมาต่อไปนี้ : เครื่องบินเครื่องต้นแบบของทั้งสองรุ่นนี้ ปรากฏให้เห็นครั้งแรกที่เมื่องตูชีโน่ (Tushino) ระหว่างการแสดงในวันแห่งการบินปี พ.ศ.2499 เป็นเครื่องบินขับไล่ในทุกกาลอากาศแบบที่นั่งเดียว (รหัสชื่อตามรายงานของนาโต้ เรียกว่า “ฟิชพ็อท-เอ (Fishpot-A)” มีโดมเรดาห์รูปทรงกรวยขนาดเล็กอยู่เหนือท่ออากาศเข้าเครื่องยนต์ รุ่นทำการผลิตได้ดัดแปลงแก้ไขให้มีท่ออากาศเข้าเครื่องยนต์อยู่ตามแนวกลางลำตัว ซึ่งได้นำเข้าประจำการเป็นเครื่องบินมาตรฐานใน ทอ.โซเวียต แบ่งออกเป็น 2 รุ่น ดังนี้คือ
ซู-9 (ฟิชพ็อท-บี) เป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นแรกที่นำเข้าประจำการ เริ่มปฏิบัตภารกิจตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 เป็นต้นมาและยังคงประจำการอยู่ในปัจจุบัน เครื่องบินขับไล่รุ่นนี้ติดตั้งเครื่องยนต์ เทอร์โบเจ็ท ของไลยูก้า (Lyulka) แบบ AL-7F พร้อมสันดาปท้ายให้แรงขับ 19,840 ปอนด์ ปากปล่องอากาศเข้าและแนวกลางลำตัวมีขนาดเล็ก ตัวอย่างการติดตั้งยุทธปัจจัยและบริภัณฑ์ต่างๆ ในการแสดงที่เมืองตูชิโน่เมื่อปี 2504 นั้นมีดังนี้ คือ ขีปนาวุธ อากาศ-สู่-อากาศ ใช้ระบบเรดาห์แสวงเป้าที่เป็นมาตรฐานในเวลานั้นของ ทอ.โซเวียต จำนวน 4 ลูก(มีชื่อเรียกตามรายงานของนาโต้ว่า อัลคาไล = Alkali ติดไว้ใต้ปี รวมกับถังเชื้อเพลิงใต้ลำตัวแต่ด้านอีก 2 ถัง สำหรับอาวุธที่ติดไว้แบบตายตัวไม่มี ซู-11 (ฟิชพ็อท-ซี) เปิดเผยให้เห็นครั้งแรกในการแสดงวันแห่งการบินที่โดโมเดโดโว่ (Domodedovo) เมื่อปี พ.ศ.2510 เป็นเครื่องบินที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างมากมายจาก ซู-9 พร้อมกับเครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ท ของ ไลยูก้า แบบ AL-7 F1 (ให้แรงขับ 22,046 ปอนด์ พร้อมสันดาปท้าย) และติดอาวุธมาตรฐาน เป็นขีปนาวุธ 2 ลูกอยู่ใต้ปีเครื่องบิน (นาโต้เรียกว่า อะแน็บ =Anab) ลูกแรกใช้หัวเรดาห์แสวงเป้า เครื่องบินรุ่นนี้หัวอันยาวของมันมีรูปแบบเรียวกว่าของซู-9 เล็กน้อย พร้อมกับลำตัวตอนกลางขยายใหญ่ขึ้น นอกจากนั้นยังมีแฟริ่งชนิดบางคล้ายท่อทอดตัวไปตามด้านบนลำตัวตอนกลางเช่นเดียวกับที่มีบนเครื่องบินรุ่น ซู-7 บี ความจริงแล้วส่วนลำตัวและตอนหางของ ซู-9 และ ซู-11 ทั้งสองแบบมีความคล้ายคลึงกันมากที่สุด และนอกจากเครื่องบินทั้ง 2 รุ่นนี้แล้วก็ยังมีรุ่นฝึกบิน 2 ที่นั่งเรียงหน้าหลังอีกด้วย (มีชื่อตามรายงานของนาโต้ว่า เมดเด็น=Maiden) ห้องนักบินออกแบบคล้ายคลึงกับของรุ่น ซู-7 แบบ 2 ที่นั่งซึ่งมีชื่อว่า มูจิค (Moujik) แม้ว่าการออกแผนแบบของซู-9 และซู-11 โดยทั่วไปแล้ว จะมีความคล้ายคลึงกับ มิก 21 ( MiG 21) และรุ่นเดียวกัน(ของสถาบันแผนแบบมิโกยัน) ก็ตามแต่ ซู-9 และ ซู-11 เป็นเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่า พร้อมด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ททำสันดาปท้ายที่ให้พลังเต็มที่มากกว่ามากและยังมีประสิทธิภาพปฏิบัติภารกิจในทุกกาลอากาศได้มากกว่ารุ่นแรกๆ ของ มิก-21 อีกด้วย แพนหางรูปสามเหลี่ยมของเครื่องบินรบทั้งของ ซูคอย และมิโกยัน ทำให้พิจารณาเห็นว่าสร้างขึ้นมาเพื่อรับกับปีกมากกว่าที่จะใช้เป็นประโยชน์ในทางอื่นๆ ซู-9 และซู-11 สามารถที่จะชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างจากมิก-21 ได้ก็คือแอร์แฟรมของซู-9 และ ซู-11 ดูเกลี้ยงเกลากว่า และปราศจากทั้งครีบเสถียรภาพที่ท้องและแฟริ่งบนลำตัว ด้านหน้า โคนปีประทุนห้องนักบินของรุ่นที่นั่งเดี่ยวให้เปิดเลื่อนไปทางด้านหลัง แต่สำหรับมิก-21 ติดบานพับเปิดไปทางด้านหน้ารอบฐานของกระบังลม หรือทางด้านข้างอย่างใดอย่างหนึ่ง
|